วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความหมายและพัฒนาการของสื่อสารข้อมูล

          การสื่อสาร หมายถึง การส่งข้อมูลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้ในหลักการหาความจริง
          ดังนั้นการขอมูล จึงหมายถึง กระบวนการถ่ายโนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปตัวเลขฐานสองที่เกิดจากอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอรืตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล
         การสื่อสารข้อมูลของมนุษย์โบราณมีวิะ๊การที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เช่นการใช้ม้าเร้วใช้นกพิราบสื่อสาร เป็นต้น แต่ในสมัยนี้มีทีมั้ง 3G 4G ตามลำดับ
หนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2 

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 1. ความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล
          การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก ที่มีความหนาแน่นสูงได้ แผ่นบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร
2. ความถูกต้องของข้อมูล
          โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิทัล
3. ความเร็วของการทำงาน
          สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าความเร็วแสงทำให้การใช้คอมพิวเตอรืส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง
4. ประหยัดต้นทุนในการสื่อสารข้อมูล
          การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น
5. สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง
          กล่าวคือ สามารถมีข้อมุลเพียงชุดเดียวในระบบเครือข่ายซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนกลาง โดยในแต่ละแผนกในบริษัทสามารถดึงไปใช้ได้จากที่เดียวกัน
6. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
          ในระบบเครือข่ายนั้น จะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้น อาจต่ออยุ่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่าย
7. การทำงานแบบกลุ่ม
          สามารถใช้ระบบเครือข่ายในการทำงานในแผนกหรือกลุ่มงานเดียวกันได้เป็นอย่างดี
หนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม. 2

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

4.1 การใช้เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย
          1. สายตีเกลียวคู่ (twisted pair cable) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดง 2 เส้นที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก พันบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการรรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคุ่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกัน 
          1.1 สายตีเกลัยวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดไม่หุ้มฉนวน 
          เป็นวายตีเกลียวคู่ที่ไม่มีฉนวนชั้นนอก ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าสายตีเกลียวคู่ชนิดหุ้มฉนวน
          1.2 สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดหุ้มฉนวน
          เป็นสายตีเกลียวคุ่ที่ใช้หุ้มชั้นนอกหุ้มด้วยลวดถักที่หนา เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า


          2. สายโคแอกซ์
          มัลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อมาจากเสาอากาศประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว 
          3. สายใยแก้วนำแสง 
          หรือเส้นใยนำแสงแกลนกลางของสายประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือเส้นใยพลาสติกขนาดเล็กภายในกลวง หลายๆเส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์

          4.2 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย
         1. อินฟราเรด เป็นลักษณะของคลื่นที่ใช้ในการส่งข้อมูลระยะใกล้ๆในช่วงความถี่ที่แคบมาก ใช้ช่องทางสื่อสารน้อยมักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งกับตัวรับสัญญาณ
          2. คลื่นวิทยุ ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยมีตัวกระจายสัญญาณส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้เครื่องวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆมีความเร็ว 2 เมกะบอตต่อนาที
          3. ไมโครเวฟ
          จะใช้ส่งสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกัยส่งข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมุล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกได้
          4. ดาวเทียม 
         เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนท้องฟ้า ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับ-ส่งไมโครเวฟบนผิวโลก เพื่อใช้เป็นสถานีรับ-ส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอากาศ

 Satellite
หนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2
www.google.com

https://www.google.co.th/search?tbm=isch&hl=th&source=hp&biw=1366&bih=631&gbv=2&oq=+%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88+&aq=f&aqi=&gs_l=img.3...1757.11059.0.11430.4.3.1.0.0.0.201.385.2j0j1.3.0...0.0.YJsEc_-


https://www.google.co.th/search?tbm=isch&hl=th&source=hp&biw=1366&bih=631&gbv=2&oq=+%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88+&aq=f&aqi=&gs_l=img.3...1757.11059.0.11430.4.3.1.0.0.0.201.385.2j0j1.3.0...0.0.YJsEc_-


https://www.google.co.th/search?tbm=isch&hl=th&source=hp&biw=1366&bih=631&gbv=2&oq=+%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88+&aq=f&aqi=&gs_l=img.3...1757.11059.0.11430.4.3.1.0.0.0.201.385.2j0j1.3.0...0.0.YJsEc_-


https://www.google.co.th/search?tbm=isch&hl=th&source=hp&biw=1366&bih=631&gbv=2&oq=+%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88+&aq=f&aqi=&gs_l=img.3...1757.11059.0.11430.4.3.1.0.0.0.201.385.2j0j1.3.0...0.0.YJsEc_-


https://www.google.co.th/search?tbm=isch&hl=th&source=hp&biw=1366&bih=631&gbv=2&oq=+%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88+&aq=f&aqi=&gs_l=img.3...1757.11059.0.11430.4.3.1.0.0.0.201.385.2j0j1.3.0...0.0.YJsEc_-


https://www.google.co.th/search?tbm=isch&hl=th&source=hp&biw=1366&bih=631&gbv=2&oq=+%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88+&aq=f&aqi=&gs_l=img.3...1757.11059.0.11430.4.3.1.0.0.0.201.385.2j0j1.3.0...0.0.YJsEc_-


https://www.google.co.th/search?tbm=isch&hl=th&source=hp&biw=1366&bih=631&gbv=2&oq=+%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88+&aq=f&aqi=&gs_l=img.3...1757.11059.0.11430.4.3.1.0.0.0.201.385.2j0j1.3.0...0.0.YJsEc_-


https://www.google.co.th/search?tbm=isch&hl=th&source=hp&biw=1366&bih=631&gbv=2&oq=+%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88+&aq=f&aqi=&gs_l=img.3...1757.11059.0.11430.4.3.1.0.0.0.201.385.2j0j1.3.0...0.0.YJsEc_-

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

          การสื่อสารโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะต้องมรการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายชนิดต่างๆ กัน ซึ่งไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง ดังนั้นจึงต้องมรการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลที่ส่ง และกำหนดมาตรฐานทางด้สนฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์เพื่อให้อุปกรณ์สื่อสารกันได้
          3.1 โพรโทคอล
          โพรโทคอล (protocol) คือข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์จะจัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน และในแต่ละโพรโทคอลจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป
          การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น จำเป็นต้องมรโพรโทคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบสองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้โพรโทคอลนี้เป็นข้อตลลงที่กำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่่างๆ
ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโพรโทคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย ซึ่งหากไม่มีโพรโทคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
         ในปัจจุบันการทำงานของเครือข่ายใช้มาตรฐานโพโทคอลต่างๆ ร่วมกันทำงานมากมาย นอกจากโพรโทคอลระดับประยุกต์แล้ว การดำเนินการภายในเครือข่ายมีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในปัจจุบันมีหลายประเภท ตัวอย่างเช่น
         1. โพรโทคอลเอชทีทีพี (Hyper Text Transfer Protocol : HTTP) เป็นโพรโทคอลหลักในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ โดยมรจุดประสงค์เพื่อเป็นช่องทางสำหรับเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภาษาเอชทีเอ็มแอล(Hyper Text Markup Language : HTML) ใช้ร้องขอหรือตอบกลับระหว่างเครื่องลูกข่าย ที่ใช้โปรแกรมค้นดูเส็บกัะบเครื่องแม่ข่าย (web server) โดยทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีดี (Transfer Control Protocol : TCP) 
         2. โพรโทรคอลทีซีพี/ไอพี (Transfer Control Protocol / Internet Protocal : TCP/IP ) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารอินเตอร์เน็ต โดยมรการระบุผู้รับ ผู้ส่งในเครือข่าย และแบ่งข้อมูลออกเป็นเพ็กเก็ตส่งผ่านไปยังอินเตอร์เน็ตซึ่งหากการส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดจะมีการร้องขอข้อมูลใหม่
          3. โพรโทคอลเอสเอ็มทีพี (Simple Mail Transfer Protocol : SMTP) คือ โพรโทคอลสำหรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) หรืออีเมลล์ (Email) ไำปยังจุดหมายปลายทาง
          4. บลูทูท (bluetooth) เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GRz ในการรับส่งข้อมูลคล้ายระบบแลนไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง เป็นต้น เข้าด้วยกันได้สะดวก
          ปัจจจุบันมีโพรโทคอลในระดับประยุกต์ใชงานมากมาย นอกจากโพรโทคอลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น        
เช่น การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน ใช้โพรโทคอลชื่อเอฟทีพี (File Transfer protocal : NNTP) การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันใช้โพรโทคอลชื่อเอ็นเอ็นพี (Network News Transfer protocal : NNTP) เป็นต้น จะเห็นได้ว่า การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้ เป็นผลมาจากกการพัฒนาโพรโทคอลต่างๆ ขึ้นใช้งาน ซึ่งการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งจำเป็นต้องผ่านหารใช้งานโพรโทรคอลต่างๆฆลายโพรโทคอลร่วมกัน
          3.2 อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นระบบเครือข่ายได้นั้น จะต้องอาศัยอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ (network device) ซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลทางสื่อกลาง
          1. เครื่องทวนสัญญาณ (repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทัลแล้วส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น
          2. ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่มาจากอุปกรณ์รับส่ง หรือคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง
          3. บริดจ์ (bridge) ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลตัวเดียวกัน
          4. อุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) สามารถกรองข้อมูลได้เช่นเดียวกับบริดจ์แต่จะมีความสามารถมากกว่า
          5. สวิตช์ (switch) นำความสามารถของฮับกับบริดจ์มารวมกัน แต่การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึงจะไม่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเหมือนกับฮับ
          6. เกตเวย์ (gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด่วยดันไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะใช้โพรโทคอลตัวใดก็ตาม
หนังสือ เทคโนโลนีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2 

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

          เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกตามสภาพการเชื่อมโยงได้เป็น 4 ชนิดดังนี้ 
          2.1 เครือข่ายส่วนบุคคล
         เครือข่ายส่วนบุคคลหรือแพน (Personal Area : PAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายในระยะใกล้ เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่องพีดีเอ เป็นต้น 
         2.2 เครือข่ายเฉพาะที่
          เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายขนาดเล็กซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่ระยะทางไม่ไกลมากนัก เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวจะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครือข่ายเช่น ฮับ สวิตช์ เแ็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันโดยใช้สายตีเกลียวคู่ สายใยแก้วนำแสงหรือคลื่นวิทยุ และเครื่อข่ายแลนจะเชื่อมต่อถึงกันด้วย อุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) การสร้างเครือข่ายแลนนี้แต่ละองค์กร สามารถดำเนินการเองไ้ด้โดยการวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่แครื่อข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปภ้ยในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้องหรื่อองค์กรขนาดใหญ่เช่น ภายในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือภายในมหาวิทยาลัย เป็นต้น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องที่เชื่อมต่อกัน สามารถส่งข้อมูลและเปลี่ยนกันได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว และยังสามารถร่วมกันได้อีกด้วย 
          2.3 เครือข่ายนครหลวง
         เครือข่ายนครหลวง หรือแมน
(Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแลนที่อยุ่ห่างกัน เช่นระหว่างสำนักงานที่อยู่คนละอาคาร ระบบเคเบิลทีวีตามบ้านปัจจุบัน เป็นต้น โดยมีลักษณะการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีระยะห่างไกลกันในช่วง 40-50 กิโลเมตรผ่านสายสื่อประเภทสายใยแก้วนำแสง สายโคแอกเชียล หรือ อาจใช้คลื่นไมโครเวฟ
          2.4 เครือข่ายวงกว้าง 
          เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (Wide are Network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้างเ้ช่นเชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ เป็นต้น 

หนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่ิอสาร ม.2 

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีไร้สายในยุคต่างๆ

          ยุค 1G เป็นยุคที่ใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น สมารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างรวดเดียว คือ สามารถโทรออก-รับสายเท่านั้น ถือเป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ โดยใช้วิธีการปรับสัญญาณแอนะล็อกเข้าช่องสื่อสาร ซึ่งแบ่งความถี่ออกเป็นช่องเล็กๆ ด้วยวิธีการนี้จึงมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณและการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เกิดการติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมายและการขยายแถบความถี่ ซึ่งโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ และใช้กำลังไฟฟ้ามากอีกด้วย
          ยุค 2G เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบแอนาล็อกมาเป็นการใช้สัญญาณดิจิทัล โดยส่งผ่านทางคลื่นไมโครเวฟ ทำให้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้นอกเหนือจากการใช้งานทางเสียงเพียงอย่างเดียวโดยสามารถรับส่งข้อมูลต่างๆ และเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐานหริอที่เรียกว่า (cell site) และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobie Communication) ซึ่งทำให้สามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า บริการข้ามเครือข่าย (roaming)




          ยุค 3G ใช้บริการมัลติมีเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตตราความเร็วสูงขึ้น มีความเร็วในการดาวโหลดน์ข้อมูลสูงสุด 2 เมกกะบิดต่อวินาที หรือเร็วกว่าเครือข่าย EDGE ที่ใช้ในปัจจุบันเกือบ 10 เท่า มีช่องสัญญาณความถี่ ความจุในการส่งข้อมูลที่มากกว่า เข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้สะดวกยิ่งขึ้น สามารถใช้สนทนาแบบเห็นหน้า (video telephone) ช่วยให้สามารถสื่อสารได้พร้อมกันทั้งภาพและเสียง รับชมโทรทัศน์หรือวิดีโอผ่านอินเตอร์เน็ตในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งมีสัญาณภาพที่คมชัด และสามารถใช้บริการข้ามเครือข่าย (roaming) ได้เช่นเดียวกับระบบ GSM

          
         ยุค 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ มีความเร็วในการสื่อสารได้ระดับถึง 20-40 เมกกะบิตต่อวินาที สามารถเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional : 3D) ระหว่างผู้ใช้ด้โทรศัพท์ด้วยกันเองโดยให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่มามารถโต้ตอบไำด้เช่น อินเตอร์เน็ตไร้สาย เลเลคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น
 
หนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2 

บรอดแบนด์

                                                                             บรอดแบนด์
บรอดแบนด์ คือ ระบบการสื่อสารที่มีความเร็วสูง รับปริมาณการสื่อสารได้มากมายหลายช่องสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันระบบบรอดแบนด์ในประเทศไทยได้เข้ามาสู้ผู้ใช้งานตามบ้านแล้ว ด้วยบริการอินเตอรืเน็ตความเร็วสูง (Asymmetric Digital Subscripber Line : ADSL) ซึ่งทำให้การใช้บริการอินเตอร์เน็ตมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 2.0 เมกะบิตต่อ วินาที แต่ในทางธุรกิจโทรคมนาคมคำว่าบอดแบนด์อาจหมายถึง ระดับความเร็วที่มากกว่าหรือเท่ากับ 256 กิโลบิตต่อวินาที ดังนั้นจึงถือว่าระดับความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที เป็นระดับความเร็วขั้นต่ำสุดของบรรบรอดแบนด์นั่นเอง