วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต


มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต

     จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ต (Netiquette) ทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในแทบทุกด้าน รวมทั้งได้ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาขึ้นในสังคม ไม่ว่าในเรื่อง ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย เสรีภาพของการพูดอ่านเขียน ความซื่อสัตย์ รวมถึงความตระหนักในเรื่องพฤติกรรมที่เราปฏิบัติต่อกันและกันในสังคมอินเทอร์เน็ต ในบทความนี้ผู้เขียนขอทบทวนเรื่อง จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า “Netiquette” เพื่อให้เป็นของฝากสำหรับสมาชิกใหม่ที่เรียกกันว่า “Net Newbies” และให้เป็นของแถมเพื่อการทบทวนสำหรับนักท่องเน็ตที่เป็น “ขาประจำ”

Netiquette คืออะไร
     Netiquette เป็นคำที่มาจาก “network etiquette” หมายถึง จรรยามารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ต หรือ cyberspace ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามาแลกเปลี่ยน สื่อสาร และทำกิจกรรมรวมกัน ชุมชนใหญ่บ้างเล็กบ้างบนอินเทอร์เน็ตนั้น ก็ไม่ต่างจากสังคมบนโลกแห่งความเป็นจริง ที่จำเป็นต้องมีกฎกติกา (codes of conduct) เพื่อใช้เป็นกลไกสำหรับการกำกับดูแลพฤติกรรมและการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิก
บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้เริ่มต้น
     ถ้าศึกษาค้นคว้าในเรื่อง Netiquette บนเว็บ จะพบการอ้างอิงและกล่าวถึง The Core Rules of Netiquette จากหนังสือเรื่อง “Netiquette” เขียนโดย Virginia Shea ซึ่งเธอได้บัญญัติกฎกติกาที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพึงตระหนักและยึดเป็นแนวปฏิบัติ 10 ข้อ ดังนี้
• Remember the Human
     กฏข้อที่ 1 เป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในขณะที่เรานั่งพิมพ์ข้อความเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านจอคอมพิวเตอร์นั้น ต้องไม่ลืมว่าปลายทางอีกด้านหนึ่งของการสื่อสารนั้นที่จริงแล้วก็คือ “มนุษย์”
• Adhere to the same standards of behavior online that you follow in real life
     กฎข้อที่ 2 เป็นหลักคิดง่าย ๆ ที่อาจจะยึดเป็นแนวปฏิบัติ หากไม่รู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไร ก็ให้ยึดกติกามารยาทที่เราถือปฏิบัติในสังคมมาเป็นบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกันแบบออนไลน์
• Know where you are in cyberspace
     กฎข้อที่ 3 เป็นข้อแนะนำให้เราใช้งานอย่างมีสติ รู้ตัวว่าเรากำลังอยู่ ณ ที่ใด เมื่อเข้าในพื้นที่ใหม่ ควรศึกษาและทำความรู้จักกับชุมชนนั้น ก่อนที่จะเข้าร่วมสนทนาหรือทำกิจกรรมใด ๆ
• Respect other people's time and bandwidth
     กฎข้อที่ 4 ให้รู้จักเคารพผู้อื่นด้วยการตระหนักในเรื่องเวลา ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดช่องสัญญาณของการเข้าถึงเครือข่าย นั่นคือ ให้คำนึงถึงสาระเนื้อหาที่จะส่งออกไป ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มสนทนาหรือการส่งอีเมล เราควรจะ “คิดสักนิดก่อน submit” ใช้เวลาตรึกตรองสักหน่อยว่า ข้อความเหล่านั้นเหมาะสมหรือมีสาระประโยชน์กับใครมากน้อยเพียงใด
• Make yourself look good online
     กฎข้อที่ 5 เป็นข้อแนะนำผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการเขียนและการใช้ภาษา เนื่องจากปัจจุบันวิธีการสื่อสารบนเน็ตใช้การเขียนและข้อความเป็นหลัก การตัดสินว่าคนที่เราติดต่อสื่อสารด้วยเป็นคนแบบใด จะอาศัยสาระเนื้อหารวมทั้งคำที่ใช้ ดังนั้น ถ้าจะให้ “ดูดี” ก็ควรใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมและตรวจสอบคำสะกดให้ถูกต้อง
• Share expert knowledge
     กฎข้อที่ 6 เป็นข้อแนะนำให้เรารู้จักใช้จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบของอินเทอร์เน็ต นั่นคือ การใช้เครือข่ายเพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยน ”ความรู้” รวมทั้งประสบการณ์กับผู้คนจำนวนมาก ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
• Help keep flame wars under control
     กฎข้อที่ 7 เป็นข้อคิดที่ต้องการให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ร่วมมือกันเพื่อช่วยควบคุมและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งความคิดเห็นด้วยการใช้คำที่หยาบคาย เติมอารมณ์ความรู้สึกอย่างรุนแรงจนเป็นชนวนให้เกิดกรณีทะเลาะวิวาทกันในกลุ่มสมาชิก ซึ่งรู้จักกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า “flame”
• Respect other people's privacy
     กฎข้อที่ 8 เป็นคำเตือนให้เรารู้จักเคารพในความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่นไม่อ่านอีเมลของผู้อื่น เป็นต้น
• Don't abuse your power
     กฎข้อที่ 9 เป็นคำเตือนสำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ผู้ดูแลระบบบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่น บุคคลเหล่านี้ก็ไม่ควรใช้อำนาจหรือสิทธิ์ที่ได้รับไปในทางที่ไม่ถูกต้องและเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น
• Be forgiving of other people's mistakes
     กฎข้อที่ 10 เป็นคำแนะนำให้เรารู้จักให้อภัยผู้อื่น โดยเฉพาะพวก newbies ในกรณีที่พบว่าเขาทำผิดพลาดหรือไม่เหมาะสม และหากมีโอกาสแนะนำคนเหล่านั้น ก็ควรจะชี้ข้อผิดพลาดและให้คำแนะนำอย่างสุภาพ โดยอาจส่งข้อความแจ้งถึงผู้นั้นโดยตรงผ่านทางอีเมล

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ 4


โฮมเพจ คืออะไร
     คือเว็บเพจหน้าแรกซึ่งเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซท์  ปกติเว็บเพจทุกๆ หน้าในเว็บไซท์จะถูกลิงค์ (โดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม) มาจากโฮมเพจ  ดังนั้นบางครั้งจึงมีผู้ใช้คำว่าโฮมเพจโดยหมายถึงเว็บไซท์ทั้งหมด  แต่ความจริงแล้วโฮมเพจหมายถึงหน้าแรกเท่านั้น  ถ้าเปรียบกับร้านค้า โฮมเพจก็เป็นเสมือนหน้าร้านนั่นเอง  ดังนั้นจึงมักถูกออกแบบให้โดดเด่นและน่าสนใจมากที่สุด


Web browser หมายถึงอะไร
    โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์



Blog ย่อมาจากคำว่าอะไร หมายถึงอะไร
   Blog ย่อมาจากคำว่า WeBlog  หมายถึง การบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ

ISP หมายถึงอะไร 
    บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต (บางครั้งเรียก ISPs) ย่อมาจากคำว่า Internet Service Provide  เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกคะ ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับ บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป  ประเภทหลังนี้จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม  นอกจากนี้ ISP หลาย ๆ แห่งจะมีบริการเพิ่มเติม เช่น บัญชีอีเมล เว็บเบราว์เซอร์ และเนื้อที่สร้างเว็บไซต์  เช่น บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส หรือ  บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต ฯล
E-learning หมายถึงอะไร
   การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 

ความรู้ 3


 HTML ย่อมาจาก HyperText Markup Language

ความหมาย : รูปแบบของภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมในเว็บเพ็จ เพื่อแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์
บอกเล่า : เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ HTML นั้นก็คือ ความเป็นเอกสารที่มีความสามารถมากกว่าเอกสารทั่วไป และมีความสามารถแบบ Hypertext คือสามารถเปิด ดูได้โดยโปรแกรมแก้ไขข้อความต่าง ๆส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น ๆ นั้นสามารถทำได้โดยการใส่สัญลักษณ์พิเศษ เข้าไปในเอกสารที่เรียกว่า แท็ก (tag) ซึ่งจะถูกอ่านโดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ต่าง ๆ เช่น IE , Netscape , Opera ฯลฯ ซึ่งภาษา HTML นั้นมีรากฐานมาจากภาษา SGML (Standard General Marup Language) ซึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้ในการ ใช้งานอินเตอร์เน็ตในระยะแรก ๆ และต่อมาก็ได้มีการพัฒนาภาษา HTML อยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งปัจจุบันนี้เป็น HTML4 ภาษา HTML นั้นก็มีคุณสมบัติที่ง่ายต่อการเขียน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านภาษาโปรแกรมใด ๆ เลย ก็สามารถเขียน ได้อย่างสบาย และจุดเด่นที่สำคัญที่สุด คือเราสามารถนำเสนอข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ภาพ เสียง วิดีโอ และอื่น ๆ ที่รวมอยู่ในไฟล์ เดียวกันได้ และสามารถเชื่อมโยงกับเอกสารอื่น ๆ ได้ง่ายดาย 
http://www.pyayam.com/article/show.php?Category=abbreviation&No=281

E-mail ย่อมาจากคำว่า


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
         บริการอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่งที่นิยมใช้มากที่สุดและเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไป ให้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็วคือ บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 

ความหมายไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
          E-mail ย่อมาจาก Electronic Mail ในภาษาไทยบางครั้งเรียก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ บางครั้งเรียก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานใช้คำว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
       ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือแบบใหม่ แทนจดหมายบนกระดาษ แต่ใช้วิธีการส่งข้อความในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง



จุดเด่นของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
          
         จุดเด่นที่ทำให้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งจดหมายด้วยกระดาษธรรมดาหรือไปรษณีย์ธรรมดา ๆ แล้ว การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ดูเหมือนจะยุ่งยากและมีวิธีการใช้สลับซับซ้อนกว่า แต่ถ้าหากพิจารณาดูแล้วจะพบว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ยุ่งยากแต่ประการใด โดยเฉพาะในปัจจุบัน โปรแกรมที่ใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้อย่างสะดวก ไม่ซับซ้อน และที่สำคัญ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์มีจุดเด่นกว่าไปรษณีย์ธรรมดาหลายประการ ดังนี้



  1. ความรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้รวดเร็วมาก เช่น เราสามารถส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จากประเทศไทยไปยังผู้รับที่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใน 1-5 นาทีเท่านั้นเอง ถ้าส่งไปรษณีย์ด่วน EMS อย่างเร็วที่สุดต้องใช้เวลา 2-3 วัน ซึ่งเปรียบเทียบกันไม่ได้เลยกับความเร็บของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
  2. ความประหยัด ค่าใช้จ่ายในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ถือว่าต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจดหมายธรรมดา ปกติถ้าเราส่งจดหมายธรรมดาต้องซื้อซอง ซื้อกระดาษ ซื้อแสตมป์ ค่าลงทะเบียนจดหมายด่วน EMS ยิ่งถ้าส่งไปต่างประเทศก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น และถ้าส่งเดือนละหลายฉบับ ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น แต่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ค่าใช้จ่ายไม่แพง มีเพียงค่าโทรศัพท์และค่าบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือนที่เราใช้กันอยู่เท่านั้น
  3. ไม่จำกัดระยะทาง ระยะทางเป็นข้อจำกัดสำคัญในการติดต่อสื่อสารกัน เราไม่ต้องเดินไปที่ที่ทำการไปรษณีย์หรือตู้ไปรษณีย์เพื่อส่งจดหมาย เราสามารถนั่งอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน พิมพ์และส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปไหนเลย
ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail Address)
         ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน
         ส่วนประกอบของที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ดังตัวอย่างต่อไปนี้



  1. ส่วนที่ 1 คือ ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อองค์กร หรือชื่ออะไรก็ได้ ตามตัวอย่างคือ thaigoodview
  2. ส่วนที่ 2 คือ เครื่องหมาย @ (at sign) อ่านว่า แอท
  3. ส่วนที่ 3 คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์ ประกอบด้วย ชื่อและนามสกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุด ตามตัวอย่างคือ  hotmail.com




Smileys  และ Abbreviations 



  • Smileys         การที่เราพูดคุยกับคนทั่วไป เราจะแสดงสีหน้าและความรู้สึกให้คู่สนทนารับทราบได้ ในการใช้อินเทอร์เน็ต เราสามารถเขียนด้วย Smileys หรือ Emotions ซึ่งสร้างขึ้นด้วยการพิมพ์ตัวอักษรจากคีย์บอร์ด ดังตัวอย่าง 
:-)
ยิ้ม (happy)
:-e
ไม่สมหวัง (disappointed)
:-(
เสียใจ (sad)
>:-<
โกรธ (angry)
:-o
ประหลาดใจ (surprised)
:-D
หัวเราะ (laughing)
:-@
หวีดร้อง (screaming)
;-)
ขยิบตาให้ (wink)
:-/
ไม่ใส่ใจ (indiffent)
;-(
ร้องไห้ (cry)



  • Abbreviations
           
    Abbreviations คือคำย่อใช้เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการพิมพ์ เช่น

    • BTW = อ้อ
    • BFN = ลาก่อน
    • FAQ = คำถามที่ถามกันบ่อย
    • FOAF = เพื่อนของเพื่อน
    • FWIW = เพื่อจะเกิดประโยชน์บ้าง
    • FYI = เพื่อทราบ
    • IMHO = ในความเห็นอันน้อยนิดของฉัน
    • IMO = ในความเห็นของฉัน
    • IOW = ถ้าจะพูดอีกอย่าง
    • L&R = คราวหลังนะ
    • LOL = หัวเราะออกมาให้ดัง ๆ
    • MOTOS = เพื่อนเพศตรงข้าม
    • MOTSS = เพื่อนเพศเดียวกัน
    • ROTFL = ขำกลิ้งบนพื้น
    • SO = อีกฝ่ายหนึ่ง
    • WRT = ในเรื่อง


โพรโทรคอลและโมเด็ม



โพรโทคอล
       คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลชนิดเดียวกันเท่านั้น จึงจะสามารถติดต่อและส่งข้อมูลระหว่างกันได้ โพรโทคอลจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ที่ต้องใช้ภาษาเดียวกัน จึงจะสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ


โมเด็ม (Modems) 
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์ 
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท 

โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้ 
1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ 
ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K 
2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล 
ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ 
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร 
โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้ 
4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด 
โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง 
5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก 
โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems) 
6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ 
โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย 

ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง 
เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่ 
1. พบปะพูดคุย 
2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน 
3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต 
4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้ 
5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้ 
6. ส่ง - รับโทรสาร 
7. ตอบรับโทรศัพท์ 

การเลือกซื้อโมเด็ม 
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น 
1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ 
2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ 
3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ 
4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน 
5. การบีบอัดข้อมูล 
6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด 
7. รับ - ส่งโทรสารได้ 
8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร 

สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม 
การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่ 
1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร 
2. พอร์ทอนุกรม (serial port) 
3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ 
เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม 
4. serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ 
(ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา) 
5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน 
โดยจะต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot 
http://202.129.0.133/createweb/00000/00000-995.html

ความรู้ 2


IP Address คืออะไร?


IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด?ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1? เป็นต้น
การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
  1. Network Address?
  2. Computer Address


การแบ่งขนาดของเครือข่าย

เราสามารถแบ่งขนาดของการแจกจ่าย Network Address ได้ 3 ขนาดคือ
  1. Class A nnn.ccc.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 1-126)
    เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากที่สุดถึง 16 ล้านหมายเลข
  2. Class B nnn.nnn.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 128-191)
    เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากเป็นอันดับสอง คือ 65,000 หมายเลข
  3. Class c nnn.nnn.nnn.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 192-233)
    เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้น้อยที่สุด คือ 256 หมายเลข 
* nnn หมายถึง Network Address ccc หมายถึง Computer Address

หมายเลขต้องห้าม สำหรับ IP Address

เนื่องจากเครือข่ายก็อาจจำเป็นต้องใช้ IP Address ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจำกัดบางหมายเลขเพื่อใช้เป็นการภายใน ได้แก่


IP Address ต่างกับ Domain Name อย่างไร
ชื่อโดเมน (Domain Name)
ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม ( domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมลแอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งเราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้
โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป
อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-"  คั่นด้วย "."  โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A - Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้
ความแตกต่างระหว่าง Domain Name URL และ Subdomain
                    ยูอาร์แอล: http://www.example.com/
                    โดเมนเนม: example.com
                    ซับโดเมน : subdomain.example.com
การจดทะเบียนชื่อโดเมน 
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  • การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ
  • การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ
การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ
  1. .com ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
  2. .net ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
  3. .org ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย
การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ
  1. .co.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป
  2. .or.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององกร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
  3. .ac.th ใช้ทำเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆ หรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน
  4. .go.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่
  5. .in.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้นโยบายชื่อโดเมน ของ THNIC การจดโดเมนนี้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อโดเมน 
  1. ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
  2. สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
  3. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้
  4. ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ domain
  5. ห้ามเว้นวรรคในชื่อโดเมน
                เว็บไซต์ปกติโดยทั่วไป จะมีทั้งแบบจดทะเบียนและไม่จดทะเบียน ที่แบบไม่จดทะเบียนนั้น ก็อาจจะได้แก่ เว็บไซต์ที่ฝากไว้ตามเซิร์ฟเวอร์ฟรีต่างๆ อย่างเช่น geocities.com, hypermart.net เป็นต้น ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้ เราสามารถสร้างขึ้น และนำไปอัพโหลดได้ทันที โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และอีกประเภทหนึ่ง คือ แบบจดทะเบียน นั่นคือคุณต้องทำการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์ของคุณ ให้เป็น .com, .net, .org และอื่นๆ แล้วแต่ประเภทของเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งหากคุณเป็นเว็บไซต์ประเภทส่วนบุคคล หรือการค้า ก็เป็น.com และถ้าหากคุณเป็นบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับเครือข่าย ก็อาจจะใช้.net และถ้าหากเป็นประเภท องค์กร ก็จะใช้.org บางครั้ง คุณอาจจะเห็นเป็น .co.th นั่นก็หมายความว่า เป็นเว็บไซต์ประเภทการค้า ซึ่งจดทะเบียนภายในประเทศไทย .ac.th ก็หมายความว่า เป็นเว็บไซต์ของสถานศึกษาที่จดทะเบียนในประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ถ้าลงท้ายด้วย.th .uk .jp ฯลฯ แสดงว่าเป็นเว็บไซต์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นๆ ส่วนที่ไม่มีชื่อประเทศต่อท้าย ก็จะจดที่ประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมด
       ตัวอย่างเว็ปไซต์ที่ใช้ในการจดโดเมนเนม
1. Web ที่ให้บริการจด domain เป็นหลัก (ให้บริการจด dot com นั่นเอง)
  1. NetworkSolutions.com
  2. Register.com
  3. SiamDomain.com
  4. DomainAtCost.com
  5. NameZero.com
2. Web ที่ให้บริการพื้นที่สร้างเว็บ (แต่ไม่รับจด dotcom โดยตรง)
  1. se-ed.net  
  2. Thai.net 
  3. Geocities.com  
  4. Nbci.com  
  5. Hypermart.net  
3. Web ที่ให้บริการจด domain พร้อม พื้นที่สร้างเว็บ
  1. Thcity.com
  2. topsiam.com 
  3. thailandhosting.net
  4. siamsavehost.com

4. ISP (Co-location หรือ Dedicate server)
ผู้ให้บริการ internet ของไทย (ISP - Internet Service Provider)
ISP หลายแห่งรับ web hosting ด้วยนะครับ บางแห่งครบวงจรเลยครับ ทำทุกอย่าง เพื่อบริการที่ดีที่สุด
  1. บริษัท เคเอสซี คอมเอร์เชียล อินเทอร์เน็ต ในกลุ่มบริษัทเคเอสซี KSC
  2. บริษัท อินเทอร์ประเทศไทย รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมINET
  3. บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชัน ในเครือล็อกซ์เล่ย์ LOXINFO
  4. บริษัท อินโฟแอคเซส ในเครือวัฎจักร INFONEWS
  5. บริษัท สามารถอินโฟเน็ต ในกลุ่มบริษัทสามารถ SAMART Cybernet
  6. บริษัท เอ-เน็ต จำกัด ในเครือนิว คอร์ปอเรชัน A-Net Internet
  7. บริษัท เวิลด์เน็ต แอนด์ เซอร์วิสเซส ในเครือยูคอม APRICOT
  8. บริษัท ไอเน็ต ประเทศไทย Asiaaccess
  9. บริษัท ไอเดีย เน็ต Idea net
  10. บริษัท ดาต้าลายไทย ในเครือดาต้าแมท Line thai
  11. บริษัท เอเชีย อินโฟเน็ต ในเครือเทเลคอมเอเชีย Asia net
  12. บริษัท ซี.เอส. คอมมิวนิเคชัน ในกลุ่มชินวัตร CS internet
IP Address
            เลขที่อยู่ไอพี หรือชื่ออื่นเช่น ที่อยู่ไอพี, หมายเลขไอพี, เลขไอพี, ไอพีแอดเดรส คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต (IP) คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร
             การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครื่อง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
  1. Network Address
  2. Computer Address

            ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับไอพีแอดเดรส อย่างน้อย พีซีที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ตต้องมีการกำหนดไอพีแอดเดรส
             คำว่าไอพีแอดเดรส จึงหมายถึงเลขหรือรหัสที่บ่งบอก ตำแหน่งของเครื่องที่ต่ออยู่บน อินเทอร์เน็ต เช่นเครื่อง nontri.ku.ac.th เป็นเมล์ เซิร์ฟเวอร์และคอมมูนิเคชันเซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัย มีหมายเลขไอพี 158.108.2.71
             ตัวเลขรหัสไอพีแอดเดรสจึงเสมือนเป็นรหัสประจำตัวของเครื่องที่ใช้ ตั้งแต่พีซี ของผู้ใช้จนถึงเซิร์ฟเวอร์ให้บริการอยู่ทั่วโลก ทุกเครื่องต้องมีรหัสไอพีแอดเดรสและต้องไม่ซ้ำกันเลยทั่วโลก
            ไอพีแอดเดรสที่ใช้กันอยู่นี้เป็น ตัวเลขไบนารีขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์
  
 11101001
11000110
00000010
01110100
              แต่เมื่อต้องการเรียกไอพีแอดเดรสจะเรียกแบบไบนารีคงไม่สะดวก จึงแปลงเลขไบนารี หรือเลขฐานสองแต่ละไบต์ ( 8 บิต ) ให้เป็นตัวเลขฐานสิบโดยมีจุดคั่น
11101001
11000110
00000010
01110100
158     .
108     .
2     .
71
http://thongthong.exteen.com/20110411/domain-name-ip-address



ความรุ้ :)


WWW ย่อมาจากคำว่า World Wide Web

     ซึ่ง WWW นั้น เป็นชื่อบริการชนิดหนึ่งอินเตอร์เน็ต ซึ่งได้รับความนิยม มาก ที่สุดบริการหนึ่ง เพราะเป็นบริการที่ให้ทั้งข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ และยังให้ความบันเทิงทั้งภาพและเสียง ซึ่งเป็นที่ดึงดูด ผู้ใช้บริการ




บราว์เซอร์ ( Browser ) คืออะไร?
Browser คือเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถท่องเที่ยวไปในโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร้ขีดกั้นทางด้านพรมแดนนอกจากนี้ Browser ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งในขณะนี้บริษัทผลิตซอฟแวร์ค่ายต่างๆ นับวันจะทวีการแข่งขันกันในการผลิต Browser เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่นักท่องเว็บให้มากที่สุด หน้าตาของ browser แตกต่างกันไปตามแต่การออกแบบการใช้งานของแต่ละค่ายโปรแกรม โปรแกรม Browser ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer, Mozilla FireFox, Google Chrome เป็นต้น ในที่นี้จะอธิบายถึง Browser ที่นิยมใช้งานในปัจจุบันอย่างคร่าวๆ
Internet Explorerเป็น Browser ที่มีสัญลักษณ์ไอคอนเป็นตัว e สีน้ำเงิน ซึ่งหลายท่านอาจจะรู้จักหรือคุ้นเคย  Browser ตัวนี้มากกว่าตัวอื่นๆ เนื่องจาก Browser ตัวนี้ผลิตโดยบริษัท Microsoft ผู้ผลิตโอเอส DOS, Windows ฯลฯ ดังนั้น Browser จะมีติดไปกับWindows จึงทำ Browser ตัวนี้เป็นที่นิยมมากกว่าตัวอื่นๆ
                                                                                                                           
Mozilla FireFoxMozilla FireFox หรือที่รู้จักกันในชื่อ FireFox พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัทมอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 2 รองจากอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์

Google Chrome เป็น Browser แบบโอเพนซอร์ซ ที่พัฒนาโดยกูเกิล โครมมีให้ดาวน์โหลดเพื่อทดสอบใช้งานสำหรับวินโดวส์ และมีภาษาที่ให้ใช้ได้มากกว่า 50 ภาษารวมถึงภาษาไทย รุ่นสำหรับ แมคโอเอส และ ลินุกซ์ นั้นกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งจะเปิดให้ทดสอบในอนาคต


http://hpc12.anamai.moph.go.th/stratigy/index.php?option=com_content&view=article&id=152:-web-browser-&catid=71:ict-news-update

เว็บไซต์


เว็บไซต์ (Web Site) หมายถึง

เว็บไซต์ (Web Site) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่างเช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซต์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้น
เว็บไซต์ (website, web site, หรือ Web site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
เว็บไซด์ คือ ศูนย์รวบรวมความรู้และแหล่งข้อมูลต่างๆ อาทิ เช่น ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ บันเทิง กีฬา เป็นต้น ปัจจุบันเว็บไซด์ได้เข้ามามีบทบาทในแวดวงธุรกิจแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของบริษัท ร้านค้า ชั้นนำ ต่างๆทั่วไป เหตุผลหนึ่งในการมีเว็บไซด์นั้น เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจนั้นๆ อีกทั้งเว็บไซด์ยังสามารถตอบสนองและครอบคลุมผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างไม่มีขีดจำกัดอีกด้วย เพราะสามารถเข้าเยี่ยมชมข้อมูลเว็บไซด์จากอินเตอร์เน็ตได้ทั่วโลก
ขั้นตอนแรกในการขอเริ่มใช้บริการเว็บไซด์นั้น นักลงทุนจะต้องไปติดต่อกับตัวแทนจำหน่าย เพื่อขอจดทะเบียนชื่อเว็บไซด์ ( Domain name ) และพื้นที่ในจัดทำเว็บไซด์ ( hosting ) ก่อน โดยการจดทะเบียนขอใช้บริการเว็บไซด์นั้น จะมีสกุลดอทให้เลือกหลากหลายประเภท
สรุป เว็บไซต์ คือ หน้าเว็บหลายหน้าที่เชื่อมต่อทางไฮเปอร์ลิงค์ ทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลผ่านทาง internetให้เป็นแหล่งข้อมูลต่างๆผ่านใน www

เว็บเพจ :)


เว็บเพจคืออะไร

หลักจากที่เราได้เรียนรู้เว็บ blog ไปกันแล้วนะครับคราวนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องเว็บเพจกันบ้าง
เว็บเพจคืออะไร? เว็บเพจก็คือ เอกสารที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารซึ่งประกอบด้วยข้อความ ภาพ เสียง และวีดีโอ ผ่านทางเครือข่ายอิืนเตอน์เน็ต เว็บเพจจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ และนำเสนอข้อมูลต่างๆ จึงส่งผมทำให้แต่ละเว็บเพจมีความแต่กต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งานนั้นเอง

ที่นี้เรามาดูประโยชน์ของเว็บเพจกันบ้างว่ามีอะไรบ้าง
เนื่องจากเว็บเพจสามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ด้วยข้อความ ภาพ เสียง และภาพยนต์ ดังนั้นเราจีงพบเห็นการนำเว็บเพจไปสร้างและพัฒนา เพื่อนำเสนอข้อมูล และข่าวสารในรูปแบบต่างๆได้อย่างมากมาย เช่น
1. เว็บข่าวและเหตุการณ์ในปัจจุบัน
เว็บข่าวในปัจจุบัน สามารถนำเสนอได้อย่างฉับไว ทันต่อเหตุการณ์ ทำให้เราสามารถรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เซึ่งสามารถดูเป็นภาพนิ่งหรือดูในแบบวีดีโอก็ได้
2. ข้อมูลความรู้และห้องสมุด
เว็บเพจเป็นเอกสารที่เชื่องโยงข้อมูลถึงกันได้ทำให้มีการรวบรวมข้อมูลไว้เป็นคลังขนาดใหญ่ ไม่ยุ่งยากในการดูแลรักษา และยังเผยแพร่อย่างกว้างขวางอีกด้วย
3. ประชาสัมพันธ์บริษัทและองค์การ
เป็นเว็บเพจที่แนะนำความเป็นมา สินค้า บริการที่อยู่ที่ติดต่อและข่าวประชาสัมพันธ์ขององค์กร
4. ความบันเทิง
เนื่องจากเว็บเพจมีทั้งภาพและเสียงและวีดีโอจึงทำให้การนำเสนอความบันเทิงไม่ใช่เรื่องอยากอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเว็บวิทยุ ฟังเพลงออนไลน์ เว็บนำเสนอภาพยนร์ เกม และเว็บเรื่องตลกขำขันต่างๆ
5. การงินการลงทุน
เป็นเว็บที่นำเสนอข้อมูลทางการเงินและการลงทุนรวมไปถึงบริการสำหรับธุรกรรมการเงินออนไลน์เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
6. ซื้อ ขายสินค้า และบริการ
เป็บเว็บที่เหมือนร้านค้าสำหรับขายสินค้า และบริการต่างๆ รวมทั้งยังบริการฝากขายสินค้าร้านเหล่านี้ได้อีกด้วย
7. ดาวน์โหลดข้อมูล
เป็นเว็บที่ให้บริการดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆเช่น ไฟล์ โปรแกรม ไฟล์ภาพ และไฟล์เสียง เป็นต้น
8. บริการติดต่อสื่อสาร
เป็นเว็บที่ให้บริการในการติดต่อสื่อสารถึงกันและกันเช่นการรับส่งจดหมาย Email เว็บบอร์ด และเว็บแซ็ตสนทนาต่างๆ

อินเตอร์เน็ต




           อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ(U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมาค.ศ.1969(พ.ศ.2512)อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา
http://www.thaiall.com/article/internet.htm