วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์



 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 

คอมพิวเตอร์คืออะไร
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
  1. รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
  2. ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
  3. แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
  4. เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
แสดงขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์

  • คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
  • ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่นิยมนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานได้สารพัด แต่ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์จะทราบว่า งานที่เหมาะกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างยิ่งคือการสร้าง สารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศเหล่านั้นสามารถนำมาพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือจัดเก็บไว้ใช้ในอนาคนก็ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะมีคุณสมบัติต่าง ๆ คือ
    • ความเร็ว (speed) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
    • ความเชื่อถือ (reliable) คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
    • ความถูกต้องแม่นยำ (accurate) วงจรคอมพิวเตอร์นั้นจะให้ผลของการคำนวณที่ถูกต้องเสมอหากผลของการคำนวณผิดจากที่ควรจะเป็น มักเกิดจากความผิดพลาดของโปรแกรมหรือข้อมูลที่เข้าสู่โปรแกรม
    • เก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ (store massive amounts of information) ไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้าน ๆ ตัวอักษร
    • ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถส่งพจนานุกรมหนึ่งเล่มในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลคนซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งวินาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
    ผู้ที่สนใจศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ จะต้องศึกษาหลักการทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมทั้งจะต้องศึกษาถึงผลกระทบจากคอมพิวเตอร์ต่อสังคมในวันนี้ ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยในแง่บวกนั้นจะมองเห็นได้ง่ายจากสภาพแวดล้อมทั่วไป นั่นคือทำให้สามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บเอกสาร การพิมพ์จดหมาย การจัดทำหนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การจ่างเงินซื้อสินค้า ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ และในทางการแพทย์อื่น ๆ อีกมากมาย
    ในแง่ลบก็มีไม่น้อย เช่น
    • โรงงานผลิตอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เกิดมลพิษต่าง ๆ มากมาย
    • ผู้ใช้อาจมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ เช่น อาจมีการปวดหลังไหล่ที่เกิดจากการนั่งอยู่หน้าเครื่องนาน ๆ หรืออาจเกิดอาการ Carpal Tunnel Syndrome (CTS) ซึ่งเป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากเส้นประสาทบริเวณข้อมูลถูกกดทับเป็นเวลานาน ๆ โดยอาจเกิดจากการใช้คีย์บอร์ดหรือเมาส์ รวมทั้งอาจมีอันตรายจากรังสีออกมาจากจอคอมพิวเตอร์ด้วย
    • ถ้าคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดในระบบที่มีความสำคัญมาก ๆ อาจเป็นอันตรายกับชีวิตมนุษย์ได้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ เป็นต้น
  • ประเภทของคอมเครื่องคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คือ ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการใช้งานกันมาก ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน ตลอดจนในสถานศึกษาต่างๆ ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงกว่าเครื่องขนาดใหญ่ในสมัยก่อนเสียอีก อย่างไรก็ดีแม้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่ทำไม่สามารถทำงานที่ใหญ่ และมีความซับซ้อนได้ เช่น งานของระบบธนาคารหรืออุตสาหกรรมซึ้งมีปริมาณมากและมีความซับซ้อนจะเป็นงานที่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้ดีกว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
  • องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Sofeware) บุคลากร (Peopleware) ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information) และกระบวนการทำงาน (Procedure)
  • วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ทางด่วนสารสนเทศกับอินเตอร์เน็ต

http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/intro.htm

ซอฟแวร์ :D

                                                                               ซอฟแวร์
หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
2.3 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานมราขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/



คำนาม :)


คำนาม 
       คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ อาการ สภาพ และลักษณะสถานที่ ทั้งสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ทั้งรูปธรรมและนามธรรม คำนามแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ 
1.  สามานยนาม คือ คำนามสามัญที่ใช้เรียกชื่อสิ่งของต่าง ๆ โดยไม่เจาะจง หรือชี้เฉพาะ เช่น คน แม่ ไก่ ถนน บ้าน เป็นต้น สามานยนามบางคำมีคำย่อยบอกชนิดย่อย ๆ ของนามนั้น เช่น คนไทย แม่บ้าน ไก่แจ้ โรงเรียนมัธยมศึกษา เป็นต้น


ตัวอย่าง - แมวชอบกินปลา
    • หนังสืออยู่บนตู้
    • วิชาเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา
2.  วิสามานยนาม คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สิ่งของ หรือคำเรียกบุคคล สถานที่ เพื่อเจาะจงว่าเป็นคนไหน สิ่งใด ที่ไหน เช่น โรงเรียนพนัสพิทยาคาร นวนิยาย เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ อำเภอพนัสนิคม นางสาวราตรี เป็นต้น
ตัวอย่าง - ปฐมาภรณ์และวทันยาเป็นเพื่อนสนิทกัน
    • พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปที่งดงามมาก
    • วรวรรณไปสมัครงานที่กระทรวงสาธารณสุข
3.  ลักษณนาม คือ คำนามที่ทำหน้าที่ประกอบคำนามอื่น เพื่อบอกรูปร่างสัณฐาน ปริมาณ การจำแนก เวลา วิธีทำ และลักษณนามอื่น ๆ หรือคำซ้ำคำนามที่กล่าวก่อน จำแนกได้ดังนี้

  1. ลักษณนามบอกสัณฐาน ได้แก่คำว่า วง หลัง แผ่น ผืน บาน ลูก ใบ แท่ง ก้อน คัน ต้น ลำ ซี่ เกล็ด เครื่อง ดวง กระบอก เส้น สาย ปาก ปื้น แพ ราง เม็ด ตับตัวอย่าง - กุสุมาซื้อข้าวเม่าทอดจากตลาด 3 แพ
  2. ลักษณนามบอกการจำแนก ได้แก่คำว่า กอง พวก เหล่า หมวด หมู่ ฝูง โขลง คณะ นิกาย ชุด สำรับ ข้อ โรง ครอก ขั้น ฉบับ ระดับ จำพวก อย่าง ประการ ประเภท ชนิด แบบ ลักษณะ รูปแบบ ประเด็น ฯลฯตัวอย่าง - พัชราภรณ์ไม่ไปโรงเรียนวันนี้เพราะมีเหตุผลหลายประการ
  3. ลักษณนามบอกปริมาณ ได้แก่คำว่า คู่ โหล กุลี บาท ชั่ง กิโลกรัม ชะลอม หีบ ขวด หยด กล่อง ช้อน ถ้วย ลิตร ตุ่ม ไห โยชน์ กิโลเมตร ฯลฯตัวอย่าง - วาริศาซื้อรองเท้าใหม่ 2 คู่
  4. ลักษณนามบอกเวลา ได้แก่คำว่า นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี ยก รอบ ครั้ง คราว สมัย ยุค หน ช่วง กะ ที ศตวรรษ ฯลฯตัวอย่าง - ครูเตือนนวลลักษณ์หลายหนเรื่องลอกการบ้านเพื่อน
  5. ลักษณนามบอกวิธีทำ ได้แก่คำว่า ผูก จับ จีบ ห่อ หยิบ กำ ม้วน พับ มัด มวน ฯลฯตัวอย่าง - ธารวีกินขนมจีนแค่ 3 จับก็อิ่ม
  6. ลักษณนามอื่น ๆ ได้แก่คำว่า พระองค์ องค์ รูป ตน คน ตัว ใบ เรื่อง สิ่ง อัน เลา เชือก คัน เรือน เล่ม ชิ้น ด้าม ฯลฯ
        ตัวอย่าง - อนุกูลมีขลุ่ย 2 เลา
4.  สมุหนาม คือ คำนามบอกหมวดหมู่ของสามานยนาม และวิสามานยนามที่รวมกันมาก ๆ ได้แก่คำว่า คณะ กอง หมู่ ฝูง โขลง พวก กลุ่ม ฯลฯ               ตัวอย่าง  - โขลงช้างทำลายไร่ข้าวโพดเสียหายหมด

    • ฝูงนกพากันออกหากิน
    • กองทหารรักษาการณ์อยู่ตลอดเวลา
5. อาการนาม คือ คำเรียกนามธรรม คือใช้เรียกสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่มีขนาดแต่สามารถเข้าใจได้ ส่วนใหญ่จะมีคำว่า “การ" และ “ความ" นำหน้า


คำว่า “การ"
จะนำหน้าคำกริยา เช่น การเรียน การเล่น การวิ่ง การเดิน การกิน การอ่าน เป็นต้น
คำว่า “ความ"
1. ใช้นำหน้าคำกริยาที่เกี่ยวกับจิตใจ หรือมีความหมายในทางเกิด มี เป็น เจริญ เสื่อม เช่น ความคิด ความฝัน ความรัก ความตาย ความทุกข์ ความเจริญ เป็นต้น
2. ใช้นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น ความดี ความเร็ว ความสูง ความถี่ ความหรูหรา เป็นต้น
ข้อควรสังเกต คำว่า “การ" และ “ความ" ถ้าไม่ได้นำหน้าคำกริยาและคำวิเศษณ์ จะเป็นคำ สามานยนาม เช่น การบ้าน การเรือน การไฟฟ้า การประปา ความแพ่ง ความอาญา เป็นต้น
หมายเหตุ
  1. ลักษณนามบางคำ ใช้ซ้ำกับคำนามที่กล่าวมาแล้ว เช่น โรงเรียนหลายโรงเรียน เป็นต้น

  1. สมุหนามบางคำใช้ซ้ำกับลักษณนาม มีข้อสังเกตคือ สมุหนามจะอยู่หน้าคำนาม เช่น ฝูงนก โชลงช้าง เป็นต้น ส่วนลักษณนามจะอยู่หลังหรือหน้าจำนวนนับ เช่น นก 1 ฝูง ช้างโขลงหนึ่ง เป็นต้น

หน้าที่ของคำนาม
  1. เป็นประธานของประโยค เช่น อุทัยทำการบ้าน ครูสอนนักเรียน เป็นต้น
  2. เป็นกรรมของประโยค เช่น แมวถูกหมากัด รถชนสุนัข เป็นต้น
  3. เป็นกรรมตรงและกรรมรอง เช่น- ธีรภัทร์ซื้อของขวัญให้เบญจกานต์ (ของขวัญเป็นกรรมตรง เบญจกานต์เป็นกรรมรอง)
  4. ทำหน้าที่ขยายคำนามอื่น เช่น พลอยพี่สาวของเพชรเป็นหมอ เป็นต้น
  5. ขยายคำกริยาเพื่อบอกสถานที่หรือทิศทาง เช่น สรินธรไปโรงเรียน เป็นต้น
  6. คำนามที่บอกเวลา ใช้ขยายกริยาหรือคำนามอื่น ๆ เช่น อากาศหนาวมากเวลากลางคืน เป็นต้น
  7. ใช้สำหรับเรียกขาน เช่น คุณแม่คะหนูไม่สบายค่ะ เป็นต้น
  8. คำนามที่เป็นส่วนเติมเต็มให้กริยา เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ ซึ่งไม่จัดว่าเป็นกรรมของกริยานั้น ๆ เช่น แมวคล้ายเสือ แววเหมือนหม่ำมาก เท่งเป็นตลก เป็นต้น
  9. http://www.school.net.th/library/create-web/10000/language/10000-7948.html

มารู้จักคำสรรพนามกันดีกว่า ^ ^


  คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนนามในประโยคสื่อสาร เราใช้คำสรรพนามเพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามซ้ำๆ
ชนิดของคำสรรพนาม แบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้
         1. สรรพนามที่ใช้ในการพูด (บุรุษสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้ในการพูดจา สื่อสารกัน ระหว่างผู้ส่งสาร (ผู้พูด) ผู้รับสาร (ผู้ฟัง) และผู้ที่เรากล่าวถึง มี 3 ชนิด ดังนี้
1) สรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้แทนผู้ส่งสาร (ผู้พูด) เช่น ฉัน ดิฉัน ผม ข้าพเจ้า เรา หนู เป็นต้น
2) สรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้แทนผู้รับสาร (ผู้ที่พูดด้วย) เช่น ท่าน คุณ เธอ แก ใต้เท้า เป็นต้น
3) สรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เช่น ท่าน เขา มัน เธอ แก เป็นต้น
          2. สรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค (ประพันธสรรพนาม)สรรพนามนี้ใช้แทนนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าและต้องการ
จะกล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังใช้เชื่อมประโยคสองประโยคเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น
บ้านที่ทาสีขาวเป็นบ้านของเธอ(ที่แทนบ้าน เชื่อมประโยคที่ 1บ้านทาสีขาว กับ ประโยคที่ 2 บ้านของเธอ)
          3. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ (วิภาคสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า เมื่อต้องการเอ่ยซ้ำ โดยที่ไม่ต้องเอ่ยนามนั้นซ้ำอีก และเพื่อแสดงความหมายแยกออกเป็นส่วนๆ ได้แก่คำว่า บ้าง ต่าง กัน ตัวอย่างเช่น
นักศึกษาต่างแสดงความคิดเห็น
สตรีกลุ่มนั้นทักทายกัน
นักกีฬาตัวน้อยบ้างก็วิ่งบ้างก็กระโดดด้วยความสนุกสนาน
          4. สรรพนามชี้เฉพาะ (นิยมสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงที่อยู่ เพื่อระบุให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่คำว่า นี่ นั่น โน่น โน้น ตัวอย่างเช่น
นี่เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์ในปีนี้
นั่นรถจักรายานยนต์ของเธอ
          5. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง (อนิยมสรรพนาม) คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามที่กล่าวถึงโดยไม่ต้องการคำตอบ
ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ที่ไหน ผู้ใด สิ่งใด ใครๆ อะไรๆๆ ใดๆ ตัวอย่างเช่น
ใครๆก็พูดเช่นนั้น
ใครก็ได้ช่วยชงกาแฟให้หน่อย
ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง
ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้
          6. สรรพนามที่เป็นคำถาม (ปฤจฉาสรรพนาม) คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามเป็นการถามที่ต้องการคำตอบ ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ไหน ผู้ใด ตัวอย่างเช่น
ใครหยิบหนังสือบนโต๊ะไป
อะไรวางอยู่บนเก้าอี้
ไหนปากกาของฉัน
ผู้ใดเป็นคนรับโทรศัพท์
          7. สรรพนามที่เน้นตามความรู้สึกของผู้พูด สรรพนามชนิดนี้ใช้หลักคำนามเพื่อบอกความรู้สึกของผู้พูดที่มีต่อบุคคล
ที่กล่าวถึง ตัวอย่างเช่น
คุณพ่อท่านเป็นคนอารมณ์ดี (บอกความรู้สึกยกย่อง)
คุณจิตติมาเธอเป็นคนอย่างงี้แหละ (บอกความรู้สึกธรรมดา)
หน้าที่ของคำสรรพนาม
1. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น ใครมา แกมาจากไหน นั่นของฉันนะ เป็นต้น
2. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น เธอดูนี่สิ สวยไหม เป็นต้น
3. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม เช่น เสื้อของฉันคือนี่ สีฟ้าใสเห็นไหม เป็นต้น
4. ทำหน้าที่ตามหลังบุพบท เช่น เธอเรียนที่ไหน เป็นต้น
http://studentwork.srp.ac.th/Website/Thai/thai/data_12.html

มาทำแบบทดสอบคณิตศาศตร์กันเถอะ

            1. เมื่อ 8 ปีก่อน พ่ออายุมากกว่าแม่ 5 ปี ปัจจุบันพ่ออายุมากกว่าแม่เท่าใด [m041]
    5
    8
    10
    13
    ยังไม่เลือก
    2. พื้นที่ 2 ไร่ เท่ากับกี่ตารางวา [m054]
      1
      100
      400
      800
      ยังไม่เลือก
    3. เลขจำนวนเต็มบวกคี่ 3 จำนวนเรียงกัน รวมกันได้ 15 เลขที่อยู่ตรงกลางคือเลขอะไร[m058]
      1
      3
      5
      7
      ยังไม่เลือก
    4. คะแนนสอบของนักเรียน 3 คน มีอัตราส่วน 4 ต่อ 2 ต่อ 3 ถ้าคนที่ได้น้อยสุด ได้ 10 คะแนน คนที่ได้มากสุดได้เท่าใด [m027]
      10
      20
      30
      40
      ยังไม่เลือก
    5. เสารั้วบ้านปักห่างกัน 2 เมตร ระหว่างต้นที่ 1 กับ 5 ห่างกันกี่เมตร [m022]
      2
      4
      8
      24
      ยังไม่เลือก
    6. รวมเวลาระหว่าง 8.00 ถึง 9.30 เป็นกี่นาที [m062]
      1.5
      60
      90
      120
      ยังไม่เลือก
    7. ถ้า A + B = 11 และ A - B = 5 แล้วค่าของ B คือเท่าใด [m034]
      1
      2
      3
      4
      ยังไม่เลือก
    8. ผลรวมของ 1 ถึง 3 เท่ากับเท่าใด [m047]
      1
      3
      6
      9
      ยังไม่เลือก
    9. เมื่อ 10 ปีก่อน พ่ออายุมากกว่าแม่ 5 ปี ปัจจุบันพ่ออายุมากกว่าแม่เท่าใด [m042]
      5
      8
      10
      13
      ยังไม่เลือก
    10. ถ้า x + 5 = 10 แล้ว 2x + 2 เท่ากับเท่าใด [m011]
      2
      12
      14
      22
      ยังไม่เลือก