วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

          การสื่อสารโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะต้องมรการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายชนิดต่างๆ กัน ซึ่งไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง ดังนั้นจึงต้องมรการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลที่ส่ง และกำหนดมาตรฐานทางด้สนฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์เพื่อให้อุปกรณ์สื่อสารกันได้
          3.1 โพรโทคอล
          โพรโทคอล (protocol) คือข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์จะจัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน และในแต่ละโพรโทคอลจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป
          การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น จำเป็นต้องมรโพรโทคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบสองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้โพรโทคอลนี้เป็นข้อตลลงที่กำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่่างๆ
ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโพรโทคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย ซึ่งหากไม่มีโพรโทคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
         ในปัจจุบันการทำงานของเครือข่ายใช้มาตรฐานโพโทคอลต่างๆ ร่วมกันทำงานมากมาย นอกจากโพรโทคอลระดับประยุกต์แล้ว การดำเนินการภายในเครือข่ายมีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในปัจจุบันมีหลายประเภท ตัวอย่างเช่น
         1. โพรโทคอลเอชทีทีพี (Hyper Text Transfer Protocol : HTTP) เป็นโพรโทคอลหลักในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ โดยมรจุดประสงค์เพื่อเป็นช่องทางสำหรับเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภาษาเอชทีเอ็มแอล(Hyper Text Markup Language : HTML) ใช้ร้องขอหรือตอบกลับระหว่างเครื่องลูกข่าย ที่ใช้โปรแกรมค้นดูเส็บกัะบเครื่องแม่ข่าย (web server) โดยทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีดี (Transfer Control Protocol : TCP) 
         2. โพรโทรคอลทีซีพี/ไอพี (Transfer Control Protocol / Internet Protocal : TCP/IP ) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารอินเตอร์เน็ต โดยมรการระบุผู้รับ ผู้ส่งในเครือข่าย และแบ่งข้อมูลออกเป็นเพ็กเก็ตส่งผ่านไปยังอินเตอร์เน็ตซึ่งหากการส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดจะมีการร้องขอข้อมูลใหม่
          3. โพรโทคอลเอสเอ็มทีพี (Simple Mail Transfer Protocol : SMTP) คือ โพรโทคอลสำหรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) หรืออีเมลล์ (Email) ไำปยังจุดหมายปลายทาง
          4. บลูทูท (bluetooth) เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GRz ในการรับส่งข้อมูลคล้ายระบบแลนไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง เป็นต้น เข้าด้วยกันได้สะดวก
          ปัจจจุบันมีโพรโทคอลในระดับประยุกต์ใชงานมากมาย นอกจากโพรโทคอลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น        
เช่น การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน ใช้โพรโทคอลชื่อเอฟทีพี (File Transfer protocal : NNTP) การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันใช้โพรโทคอลชื่อเอ็นเอ็นพี (Network News Transfer protocal : NNTP) เป็นต้น จะเห็นได้ว่า การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้ เป็นผลมาจากกการพัฒนาโพรโทคอลต่างๆ ขึ้นใช้งาน ซึ่งการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งจำเป็นต้องผ่านหารใช้งานโพรโทรคอลต่างๆฆลายโพรโทคอลร่วมกัน
          3.2 อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นระบบเครือข่ายได้นั้น จะต้องอาศัยอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ (network device) ซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลทางสื่อกลาง
          1. เครื่องทวนสัญญาณ (repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทัลแล้วส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น
          2. ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่มาจากอุปกรณ์รับส่ง หรือคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง
          3. บริดจ์ (bridge) ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลตัวเดียวกัน
          4. อุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) สามารถกรองข้อมูลได้เช่นเดียวกับบริดจ์แต่จะมีความสามารถมากกว่า
          5. สวิตช์ (switch) นำความสามารถของฮับกับบริดจ์มารวมกัน แต่การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึงจะไม่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเหมือนกับฮับ
          6. เกตเวย์ (gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด่วยดันไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะใช้โพรโทคอลตัวใดก็ตาม
หนังสือ เทคโนโลนีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น